Written by 6:16 am สุขภาพ, เราเลือกให้คุณ, แนะนำ, ไลฟ์สไตล์ Views: 18

รู้ได้อย่างไรเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ 

ในประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ หรือ Thyroid Cancer อยู่ที่ประมาณ 2,800 ราย / ปี โดยจัดเป็นอันดับที่ 7 ของโรคมะเร็งทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเป็นผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาจเกิดจากการแบ่งเซลล์ที่ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ จนกลายเป็นเนื้อร้าย โดยจะสามารถพบได้จากการคลำพบก้อนที่บริเวณกระดูคอหอยตรงลำคอ ซึ่งเป็นตำแหน่งของต่อไทรรอยด์ ที่ปกติจะมีลักษณะแบน ไม่มีกลุ่มก้อนใด ๆ 

ต่อมไทรอยด์ในระยะแรกจะไม่มีการแสดงอาการผิดปกติใด ๆ แต่จะสังเกตได้จากการก้อนที่บริเวณดังกล่าว หากพบว่ามีก้อนที่ลำคอ โดยเฉพาะก้อนด้านหน้าลำคอเคลื่อนขึ้น – ลงเมื่อกลืนน้ำลาย อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งไทรอยด์ได้ จึงควรรีบไปพบแพทย์ ซึ่งมะเร็งต่อมไทรอยด์มีทั้งชนิดที่ไม่ร้ายแรง ไปจนถึงมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดร้ายแรงมาก โดยกลุ่มที่ไม่ร้ายแรงจะมีก้อนเนื้องอกโตช้า อาการเกิดช้า และอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยต่ำ 

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ อาจมีสาเหตุจากการเป็นโรคอื่น ๆ 

  • คอพอก หรือ คอหอยพอก (Nodular goiter) ซึ่งร้อยละ 50 – 60 ของก้อนเดี่ยวที่ต่อมไทรอยด์ จะมีความผิดปกติที่เป็นกลุ่มคอหอยพอก
  • เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของต่อมไทรอยด์ ชนิด Thyroid adenoma 
  • เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของต่อมไทรอยด์ชนิดที่เป็นพิษร่วมด้วย 
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิด Thyroid carcinoma ซึ่งมีโอกาสพบได้ร้อยละ 10 – 15 โดยจะมีลักษณะเป็นก้อนเดี่ยว ๆ ขนาดเล็กในระยะเริ่มต้น และจะค่อย ๆ โตขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะมีการแพร่กระจายเป็นก้อนหลายก้อนในเนื้อต่อมไทรอยด์ หรืออาจจะแพร่กระจายไปที่อื่น เช่น ที่กระดูก หรือ ต่อมน้ำเหลือง เป็้นต้น 

อาการที่เป็นสัญญาณเตือนเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

  • ก้อนโตขึ้นอย่างรวดเร็ว 
  • กลืนน้ำลายและอาหารลำบาก หรือสำลักเมื่อกลืนอาหาร 
  • เสียงแหบ หายใจไม่สะดวก 
  • คลำเจอก้อนโตที่ด้านข้างลำคอ 

ปัจจัยใดบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ 

  • อายุ : จากรายงานทางการแพทย์ พบว่า ช่วงอายุที่มักจะพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ มักจะเจอใน 2 ช่วงอายุด้วยได้ คือ อายุต่ำกว่า 20 ปี และ อายุสูง 60 ปีขึ้นไป โดยจะพบผู้ป่วยที่เมื่อมีอายุมากขึ้นในเพศหญิง ในขณะที่เพศชายจะไม่สัมพันธ์กับอายุ 
  • เพศ : โดยปกติทั่วไป จะพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หากพบก้อนของต่อมไทรอยด์ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งได้ 
  • ขนาดก้อนที่คอ : โดยส่วนใหญ่ ก้อนไทรอยด์ที่มีขนาดโตจะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าก้อนเล็ก โดยเฉพาะก้อนที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดอย่างรวดเร็ว 
  • ลักษณะของก้อน : ก้อนมีลักษณะแข็ง ผิวขรุขระ ติดแน่นกับผิวหนังและอวัยวะใกล้เคียง 
  • ประวัติการได้รับรังสี : ผู้ที่เคยได้รับรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ 
  • อาการเจ็บป่วยอื่น ๆ : ต่อมน้ำเหลืองคอโต กดทางเดินหายใจ ทำให้กลืนลำบาก มีอาการเจ็บปวด 

การรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ 

เมื่อผู้ป่วยคลำพบก้อนผิดปกติที่ลำคอ หรือรู้สึกผิดปกติและไปโรงพยาบาล แพทย์จะทำการส่งตรวจ Ultasound Thyroid เพื่อตรวจหาไทรอยด์ โดยจะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเอาเนื้อจากต่อมไทรอยด์ไปตรวจ เพื่อทำการวินิจฉัยโรค และเมื่อผลสรุปว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการผ่าตัดโดยเร็วที่สุด เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และช่วยให้มีโอกาสหายจากโรคได้ โดยอาจพิจารณาให้การรักษาด้วยรังสีไอโอดีนหลังผ่าตัดในบางกรณี หรือรักษาด้วยรังสีและเคมีบำบัด 

เมื่อรู้สึกว่ามีก้อนผิดปกติที่ลำคอ หรือมีอาการเจ็บ กลืนน้ำลายหรืออาหารลำบาก ไม่ควรละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบไปพบหมอหรือแพทย์เฉพาะทางทันที เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคได้ท่วงทัน เพราะอาการของโรคมะเร็งบางชนิดอาจรักษาให้หายขาดได้ หรือลดความเสี่ยงของอาการโรคก่อนที่จะกลายไปเป็น “มะเร็งต่อมไทรอยด์”

(Visited 18 times, 1 visits today)
Close